วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555

"น้ำบริสุทธิ์ หยุดดื่มดีกว่า "


ผลการประชุมสัมมนาเรื่อง "ดื่มอะไรจึงจะปลอดภัยต่อสุขภาพ" ซึ่งสมาคมเคมีร่วมกับฝ่ายสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยมี รศ.ดร.สมใจ วิชัยดิษฐ อดีตนายกสมาคมโภชนาการ นางชวนพิศ ธรรมศิริ อดีตผู้ว่าการการประปานครหลวง รศ.ดร.พิชัย โตวิวิชญ์ รองประทานชมรมอยู่ร้อยปีชีวีเป็นสุขเป็นวิทยากร และ ผศ.ดร.ตะวัน สุขน้อย เป็นผู้ดำเนินการประชุม มีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 120 คน



รศ.ดร.ธีรวัฒน์ มงคลอัศวรัตน์ นายกสมาคมเคมี ได้แถลงต่อที่ประชุมว่า สมาคมเคมีมีนโยบายที่จะให้ความรู้สู่ประชาชนในหัวข้อ " เคมีในชีวิตประจำวัน" และฝ่ายสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาของ สวทช. ก็มีภารกิจในการเผยแพร่ผลงานทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม ทำความเข้าใจในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแก่ประชาชนจึงได้ร่วมมือกันในการประชุมสัมมนานี้ขึ้น โดยผู้เข้า่ร่วมประชุมไม่ต้องชำระค่าใช้จ่ายแต่อย่างไร

รศ.ดร.สมใจ วิชัยดิษฐ์ ได้อธิบายถึงความสำคัญของน้ำที่มีต่อร่างกายเป็นสารอาหารที่ร่างกายขาดไม่ได้ นอกเหนือจากคาร์โบไฮเดรท โปรตีน ไขมัน เกลือแร่ และวิตามินในร่างกายมีปริมาณน้ำมากที่สุด ประมาณ 63% และมีเกลือแร่ประมาณ 6 % มากกว่าคาร์โบไฮเดรต ซึงมีเพียงประมาณ 1 % ส่วนวิตามินนั้นมีน้อยมาก น้ำในร่างกายมีทั้งภายในเซลล์ประมาณ 25 ลิตร และอยู่ภายนอกเซลล์ประมาณ 17 ลิตร โดยเพศชายจะมีปริมาณน้ำมากกว่าเพศหญิงในวัยเดียวกัน บทบาทของน้ำในร่างกายเป็นของเหลวทั้งภายในเซลล์และภายนอกเซลล์ เกี่ยวข้องกับกระบวนการออสโมซิส ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายกำจัดของเสียและเป็นสารหล่อลื่น ฯลฯ อย่างไรก็ตาม ถ้าดื่มน้ำมากเกินมากไปก็อาจทำให้ปวดศรีษะ สายตาพร่า เป็นตะคริว และอาจชัดได้

นางชวนพิศ ธรรมศิริ ได้เน้นให้เห็นถึงความสำคัญของน้ำซึ่งเป็นทรัพยากรของมนุษย์ที่ควรจะใช้อย่างชาญฉลาด แหล่งน้ำที่นำมาใช้บริโภคมีทั้งน้ำที่อยู่บนดินจากแม่น้ำลำคลอง รวมทั้งลำธารตามป่าเขาและน้ำใต้ดิน การผลิตน้ำเพื่อบริโภคนั้นมีกรรมวิธีหลายขั้นตอน เทคโนโลยีสมัยใหม่นี้สามารถผลิตน้ำให้สะอาดอย่างไรก็ได้ แต่ปัญหาที่สำคัญ ได้แก่ ความเค็มของน้ำซึ่งมีธาตุโซเดียมละลายอยู่เป็นปัญหาที่แก้ได้ยากที่สุึด จึงมีเทคโนโลยีที่เรียกว่า รีเวอร์ออสโมซิส (Reverse Osmosis) หรือย่อว่า อาร์โอ (RO) ซึ่งเป็นระบบที่สามารถขจัดแร่ธาตุทุกชนิดออกไปจากน้ำ กลายเป็นน้ำบริสุทธิ์เสมือนหนึ่งเป็นน้ำกลั่น สำหรับน้ำประปาของการประปานครหลวงมีคุณภาพและมาตรฐานของตนเอง และทำได้ดีกว่ามาตรฐานขององค์การอนามัยโลก ความจริงประชาชนได้รับน้ำประปาเข้าร่างกายทางอ้อมในการหุงข้าวและทำอาหารเป็นประจำมานานแล้ว ยังไม่เคยได้ยินว่ามีใครเจ็บป่ายเพราระใช้น้ำปะปา มีแต่เรื่องเดือดเพราะไม่มีน้ำปะปาใช้ เพราะฉะนั้นจึงไม่มีปัญหาที่จะดื่มน้ำประปาโดยตรง ส่วนปัญหาที่มีผู้ข้องใจว่า ท่อปะปารั่วอาจมีสิ่งสกปรกเข้าไปในท่่อได้นั้น เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ทั้งนี้เพราะภายในท่อจะมีความดันสูงกว่าภายนอกท่อ เมื่อมีรอยรั่วจึงมีแต่น้ำพุ่งออกมาจากท่อปะปาสิ่งสกปรกจากนอกท่้อจะเข้าไปในท่อไม่ได้ นอกจากบางบ้านที่ใช้ปั๊มน้ำก็อาจทำให้สิ่งที่อยู่นอกท่อเข้าไปในท่อได้

ศ.ดร.ประดิษฐ์ เชี่ยวสกุล นักวิทยาศาสตร์อาวุโส ได้ชี้แจงเพิ่มเติมว่าน้ำประปาใช้คลอรีนฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ อาจทำให้มีกลิ่นฉุน แต่ถ้าตั้งทิ้งไว้หรือต้มให้ร้อน กลิ่นคลอรีนก็จะระเหยหายไปได้ไม่มีพิษภัยอะไร
  
รศ.ดร.พิชัย โตวิวิชญ์ ได้อ่านบทความของ รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน คณบดี คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งรับเชิญเป็นวิทยากรด้วยแต่ติดราชการกะทันหัน จึงไม่สามารถเข้าร่วมประชุม ได้อนุญาตให้นำบทความมาแจกในที่ประชุม ซึ่งมีข้อความสำคัญบางตอนดังต่อไปนี้ "แร่ธาตุในน้ำนั้นมีหน้าที่สำคัญ คือ ทำให้น้ำนั่นไม่กลายเป็น "น้ำอ่อน" เกินไป ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการผลิตน้ำเพื่อการบริโภค....น้ำดื่มจะต้องไม่เป็นน้ำอ่อนเกินไป กรณีของน้ำไร้แร่ธาตุนั้นนับเป็นน้ำที่อ่อนสุดขีด...กระบวนการรีเวอร์สออสโมซิสนั้น นิยมใช้ในการเตรียมน้ำทะเลให้เป็นน้ำดื่มเพื่อการบริโภค ที่เรียกว่า "ดีซาลิเนชั่น" (Desalination) น้ำทะเลซึ่งกระด้างมหาศาล เมื่อผ่านกระบวนการนี้แล้ว จะกลายเป็นน้ำไร้แร่ธาตุอย่างสิ้นเชิง แต่ก่อนที่จะจ่ายเข้าสู่ระบบน้ำบริโภค เขาจะผสมแร่ธาตุจำนวนพอเหมาะกลับเข้าไปในน้ำอีกครั้งหนึ่ง เพื่อไม่ให้น้ำอ่อนเกินไป สามารถดื่มได้อย่างปลอดภัย"

ดร.พิชัย โตวิวิชญ์ ได้อธบายความสำคัญของแร่ธาตุที่มีต่อร่างกาย เช่น การทำงานของเอ็นไซม์จำนวนมาก ต้องใช้โลหะเป็นส่วนประกอบสำคัญถ้าปราศจากโลหะนี้แล้ว เอ็นไซม์จะไม่สามารถทำงานได้ ยกตัวอย่างแมกนีเซียมเกี่ยวข้องกับปฎิกิริยาของเอ็นไซม์ในร่างกายมากกว่า 300 ปฎิกิริยา เช่นการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ เป็นต้น เฉพาะแมกนีเซียมตัวเดียวสามารถป้องกันไม่ให้เกิดโรคต่างๆได้ถึง 50 โรค ตามเอกสารที่แจกในที่ประชุมยกตัวอย่างเช่น โรคแก่ก่อนวัย (Aging) , พฤติกรรมก้าวร้าว (Aggressive Behavior) , ความเสื่อม (Alzheimer) , สมองเสื่อม (Brain Damage) , มะเร็ง เบาหวาน โรคหัวใจ โรคเอดส์ (HIV,AIDS) , นิ่วในไต (Kidney Stones) , โรคเครียด และพฤติกรรมรุนแรง (Violence) เป็นต้น เป็นที่สังเกตุได้ว่าโรคต่า่งๆ เหล่านี้มีสถิติเป็นกันมากขึ้นภายหลังจากที่มีการนำเรซินมาขจัดความกระด้างของน้ำดื่มกลายเป็น "น้ำอ่อน" ที่ไม่มีแร่ธาตุแมกนีเซียมและแคลเซียม ยิ่งเป็นน้ำจากระบบอาร์โอ รวมทั้งน้ำจากตู้หยอดเหรียญหรือน้ำดื่มบริสุทธิ์เอื้ออาทร จัดได้ว่าเป็นน้ำอ่อนที่สุด นอกจากไม่มีแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายแล้ว ยังสามารถดึงดูด (Absorption) แร่ธาตุในร่างกายออกมา ทำให้ร่างกายขาดแร่ธาตุ บั่นทอนสุขภาพทำให้เกิดเป็นโรคต่างๆ ได้มากมาย

ดร.พิชัย โตวิวิชญ์ ได้ทำการสาธิตตรวจวัดปริมาณแร่ธาตุที่ละลายในน้ำชนิดต่างๆ ปรากฎว่าน้ำอาร์โอมีความบริสุทธิ์มากกว่าน้ำกลั่นเติมแบตเตอรรี่ที่ตรวจวัดในวันนั้น ปกติน้ำอาร์โอและน้ำจากตู้หยอดเหรียญจะมีแร่ธาตุละลายอยู่ตั้งแต่ 0 มิลลิกรัม ถึงประมาณ 30 มิลลิกรัมต่อลิตร ในขณะที่น้ำประปาจะมีประมาณ 150 มิลลิกรัมต่อลิตร น้ำบาดาลจะมีค่าแตกต่างกันไปแล้วแต่แหล่งน้ำและกระบวนการ โดยมีประมาณ 200 มิลลิกรัมต่อลิตร และน้ำแร่จะมีประมาณ 250-300 มิลลิกรัมต่อสิตร ยกเว้นน้ำแร่ปลอม ส่วนน้ำคลองที่นำมาตรวจวัดมีถึง 1,360 มิลลิกรัมต่อลิตร เครื่องวัดปริมาณแร่ธาตุนี้ มีจำหน่ายที่ชมรมอยู่ร้อยปีชีวีเป็นสุข

นอกจากนี้ ดร.พิชัย โตวิวิชญ์ ยังได้แสดงกลเคมีที่มีการอวดอ้างว่า น้ำที่ผลิตโดยระบบอาร์โอเป็นน้ำสะอาด แต่ระบบอื่นๆ สกปรกนั้นความจริงเป็นการ หลอกลวงประชาชน ซึ่ง ดร.พิชัยได้พิสูจน์ให้เห็นว่าน้ำจากระบบอาร์โอเป็นน้ำบริสุทธิ์มีคุณสมบัติเป็นฉนวน ดังนั้นเมื่อจุ่มขั้วไฟฟ้าสองขั้ว (ทำด้วยอลูมิเนียมและเหล็ก) ลงไปในน้ำ จึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงยังคงเป็นน้ำใส ในขณะที่น้ำระบบอื่นซึงมีเกลือแร่เป็นสื่ิอไฟฟ้า เมื่อกระแสไฟไหลผ่านโมเลกุลของน้ำก็จะแตกตัวเป็นแก๊สไฮโดรเจนที่ขั้วเหล็ก ทำให้เกิดสนิมเหล็กเป็นตะกอนสีน้ำตาลแดง อย่างไรก็ตามถ้าเติมเกลือแกงเพียงเล็กน้อยลงไปในน้ำระบบอาร์โอแล้วให้กระแสไฟไหลผ่านก็จะเกิดตะกอนสีน้ำตาลแดงเช่นเดียวกันกับน้ำที่ผลิตโดยระบบอื่นๆ ตะกอนที่เกิดขึ้นจึงไม่เกี่ยวข้องกับความสะอาดหรือสกปรกของน้ำ แต่เกิดจากการแตกตัวของโมเลกุลน้ำ

น้ำสะอาดกับน้ำบริสุทธิ์ จึงมีความหมายไม่เหมือนกัน กล่าวคือ น้ำสะอาด หมายถึงน้ำที่ปราสจากเชื้อจุลินทรีย์ ไม่มีสิ่งสกปรกต่อร่างกายละลายอยู่ตามความเหมาะสม ส่วนน้ำบริสุทธิ์ หมายถึง น้ำที่ไม่มีแร่ธาตุหรือสิ่งเจือปนอะไรเลยแม้แต่น้อย
   
ในที่สุด ผศ.ดร.ตะวัน สุขน้อย ได้สรุปต่อที่ประชุมว่า "น้ำดื่มที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ ได้แก่ น้ำสะอาดปราศจากเชื้อจุลินทรีย์ มีแร่ธาตุที่ไม่มีพิษภัยแต่ให้ประโยชน์ต่อร่างกายละลายอยู่อย่างเหมาะสม"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น